หน้าแรก คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)
คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)
 


ที่มาของคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.)


               การบริหารเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศสำหรับกองทุนประเภท ก ให้ สกพ. ดำเนินการเพื่อให้มี คพรฟ. ขึ้นคณะหนึ่ง มีจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน และสูงสุดไม่เกิน 35 คน ตามที่ กกพ. กำหนด ประกอบด้วย ผู้แทนภาคประชาชน ผู้แทนภาครัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้มีผู้แทนภาคประชาชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสามของคณะกรรมการทั้งหมด และมีผู้ทรงคุณวุฒิได้ไม่เกิน 3 คน




ตัวอย่างการสรรหา คพรฟ. และ คพรต. ในกองทุนประเภท ก

               (กรณีตัวอย่าง : กองทุนฯ มีพื้นที่ประกาศ 5 ตำบล และตำบล ก มีหมู่บ้านจำนวน 10 หมู่บ้าน
               1. คพรฟ. จำนวน 21 คน
                              o คพรฟ. ภาคประชาชน จำนวน 14 คน จาก 
                                             ตำบล ก = 4 คน 
                                             ตำบล ข = 3 คน
                                             ตำบล ค = 3 คน
                                             ตำบล ง = 2 คน
                                             ตำบล จ = 2 คน
                              o คพรฟ. ภาครัฐ จำนวน 5 คน จาก
                                             ผู้ว่าราชการจังหวัดคัดเลือก = 2 คน
                                             ผู้แทนกระทรวงพลังงาน = 2 คน 
                                             ผู้แทน สกพ. = 1 คน
                              o คพรฟ. ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน
               2. คพรต. ตำบล ก จำนวน 15 คน
                              o คพรต. ภาคประชาชน จำนวน 10 คน จาก
                                             ผู้แทนหมู่บ้าน = 6 คน (จากผู้แทนหมู่บ้านของหมู่บ้านที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็น คพรฟ. ภาคประชาชน)
                                             ลำดับที่ 2 ของผู้แทนหมู่บ้าน = 4 คน (จากหมู่บ้านที่ผู้แทนหมู่บ้านได้รับการคัดเลือกเป็น คพรฟ.ภาคประชาชน)
                              o คพรต. อื่นๆ จำนวน 5 คน


                                                                                          ตัวอย่างการกำหนดจำนวน คพรฟ.

อำนาจหน้าที่ ของ คพรฟ.

               1. สามารถกำหนดพื้นที่ผู้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าให้แตกต่างจากพื้นที่ประกาศได้ โดยความเห็นชอบของ กกพ.
               2. จัดทำและเสนอแผนยุทธศาสตร์ แผนงานประจำปี แผนการจัดสรรเงิน เพื่อใช้ในการพัฒนาและฟื้นฟูท้องถิ่นต่อ กกพ. เพื่ออนุมัติและประกาศต่อสาธารณชน
               3. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการสำรวจผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า โดยมีการศึกษาตามหลักวิชาการ และรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ เพื่อเสนอขอปรับปรุงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าต่อ กกพ. เพื่อพิจารณาอนุมัติพื้นที่ประกาศ
               4. ส่งเสริมให้มีการสำรวจความต้องการของประชาชน และสำรวจผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าเป็นประจำทุกปี เพื่อใช้ประกอบการจัดทำโครงการชุมชน
               5. พิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูท้องถิ่น
               6. จัดให้มีสัญญา หรือข้อตกลงโครงการชุมชน และเบิกจ่ายเงินสนับสนุนตามแผนงานหรืองวดเงิน เพื่อการดำเนินงานโครงการชุมชน
               7. กำกับดูแลให้มีการบันทึกบัญชี และรายงานสถานะการเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศต่อ สกพ. เป็นรายไตรมาสและรายปี ตามระเบียบ วิธีการ และรูปแบบที่ กกพ. กำหนด
               8. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานโครงการชุมชน พร้อมรายงานผลการดำเนินงานโครงการชุมชนต่อ สกพ.
               9. จัดจ้างและแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
               10. จัดประชุม คพรฟ. อย่างน้อย 3 เดือนครั้ง เพื่อการบริหารเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ การติดตามผลการดำเนินงานโครงการชุมชน และจัดทำรายงานการประชุมเป็นหลักฐาน
               11. การบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ อาจว่าจ้างบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ช่วยการดำเนินงานตามความจำเป็นและเหมาะสม และอาจว่าจ้างบุคคลภายนอกเพื่อตรวจสอบติดตามและประเมินผลโครงการได้ตามความเหมาะสม ตามที่ กกพ. กำหนด
               12. ประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ข้อมูลกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศและผลการดำเนินงานต่อสาธารณชน
               13. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ประกาศ และเครือข่ายความร่วมมือของ คพรฟ. ในพื้นที่ประกาศอื่น ๆ
               14. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือกระทำการอย่างใด ตามที่ คพรฟ. มอบหมาย
               15. กำกับดูแล และดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบ คำสั่ง หลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการที่ กกพ. กำหนด
               16. ในกรณีที่ประกาศระเบียบที่ กกพ. กำหนด ไม่ครอบคลุมถึงการดำเนินงานของ คพรฟ. ในพื้นที่ประกาศ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเฉพาะ ให้ คพรฟ. เสนอระเบียบที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมให้ กกพ. พิจารณาได้เท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ แนวทางที่ กกพ. กำหนด
               17. ดำเนินงานอื่นใดตามที่ กกพ. หรือ สกพ. มอบหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการบริหารเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และวิธีปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้




คุณสมบัติของ คพรฟ. ภาคประชาชน


               1. มีสัญชาติไทย
               2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
               3. มีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ
               4. มีชื่อในทะเบียนบ้านที่อยู่ในพื้นที่ประกาศติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่ดำเนินการสรรหา
               5. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ช่วยผู้ดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการที่ปรึกษาพรรคการเมือง
               6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
               7. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
               8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย ทุจริต
               9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
               10. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
               11. ไม่เคยเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันดำเนินการสรรหา เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
               12. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
               13. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า


คุณสมบัติของ คพรฟ. ผู้ทรงคุณวุฒิ


               1. มีสัญชาติไทย
               2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
               3. มีความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์ ในด้านสังคม สาธารณสุข พลังงาน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชุมชน การศึกษา การเงิน หรือด้านสื่อสาร
               4. มีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่
               5. ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้ช่วยผู้ดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการที่ปรึกษาพรรคการเมือง
               6. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
               7. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
               8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย ทุจริต
               9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
               10. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
               11. ไม่เคยเป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการเสนอชื่อ เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
               12. ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
               13. ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า

การดำรงตำแหน่งของ คพรฟ.


               
กรรมการ คพรฟ. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับประกาศแต่งตั้ง โดยดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ความในวรรคนี้ไม่ให้ใช้บังคับกับกรรมการผู้แทนภาครัฐ

               ในวาระเริ่มแรก เมื่อครบกำหนดสองปี ให้กรรมการ คพรฟ. ในส่วนของภาคประชาชนออกจากตำแหน่งจำนวนกึ่งหนึ่งโดยวิธีจับสลาก หากจำนวนที่คำนวณได้มีเศษให้ปัดเศษทิ้งและให้ถือว่าการออกจากตำแหน่งดังกล่าวเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ทั้งนี้การดำเนินการจับสลากให้ดำเนินการล่วงหน้าตามสมควร

               กรรมการ คพรฟ. ที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการ คพรฟ. ขึ้นใหม่เพื่อให้มี กรรมการ คพรฟ. ปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ให้ดำเนินการสรรหากรรมการ คพรฟ. ขึ้นใหม่ในภาคส่วนเดียวกัน เป็นการล่วงหน้าก่อนที่กรรมการ คพรฟ. ครบวาระ ตามสมควร

               ในกรณีที่กรรมการ คพรฟ. พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ คพรฟ. ในภาคส่วนเดียวกันแทนภายในสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ คพรฟ. ซึ่งตนแทน

               ในกรณีที่วาระของกรรมการ คพรฟ. เหลืออยู่น้อยกว่าเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ คพรฟ. แทนตำแหน่งที่ว่างลงก็ได้ และในการนี้ให้ คพรฟ. ประกอบด้วยกรรมการ คพรฟ. เท่าที่เหลืออยู่
เมื่อกรรมการ คพรฟ. พ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ทำการส่งมอบงานแก่กรรมการ คพรฟ. ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ ตามวิธีการที่ กกพ. กำหนด

การพ้นจากตำแหน่งของ คพรฟ.

               1. ตาย
               2. ลาออก
               3. กรรมการผู้แทนภาคประชาชนย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านในพื้นที่ประกาศเกิน 90 วัน
               4. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นกรรมการ คพรฟ.
               5. ขาดการประชุม 3 ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
               6. ประธาน กกพ. มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามมติ กกพ. หรือตามมติ คพรฟ. ไม่น้อยกว่าสองในสามของ คพรฟ. ที่เสนอให้ กกพ. พิจารณาให้พ้นจากตำแหน่งเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง ไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในนิติกรรมสัญญาที่ทำกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า หรือหย่อนความสามารถ
               7. ผู้มีอำนาจเสนอแต่งตั้งตามข้อ 14 (ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือข้อ 15 (กระทรวงพลังงาน) เสนอขอเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้แทนภาครัฐ

การประชุม คพรฟ.

  • ประธาน คพรฟ. หรือกรรมการ คพรฟ. ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม มีอำนาจในการเรียกประชุม
  • การประชุม คพรฟ. ต้องมีกรรมการเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ และต้องมีกรรมการผู้แทนภาคประชาชนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม จึงถือเป็นองค์ประชุม
  • ถ้าประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในการประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุม
  • การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในการประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
  • การลงมติของที่ประชุมให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่เมื่อที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นชอบให้ลงมติลับ
  • กรรมการและเลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ออกหนังสือเชิญประชุม โดยแจ้งให้ คพรฟ. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วัน และมีหน้าที่บันทึกการประชุม และส่งรายงานการประชุมให้ คพรฟ.

หน้าแรก
กองทุนมาตรา 97(3)
  • ความเป็นมา
  • ประเภทของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • กรอบการจัดสรรเงินกองทุน
  • ประเภทของการบริหารกองทุน
  • การสรรหา คพรฟ./คพรต.
  •     - ที่มาของ คพรฟ.
        - ที่มาของ คพรต.
        - ขั้นตอนการดำเนินการสรรหา
        - เวทีประชาสัมพันธ์ระดับตำบล
        - เวทีประชาคมหมู่บ้าน
        - เวทีประชุมตำบล
        - ภาพการสรรหาคณะกรรมการกองทุน
  • การสรรหาผู้แทน กองทุน ค
  • ข้อมูลกองทุนในพื้นที่
  •     - รายละเอียดของแต่ละกองทุน
    การจัดทำแผนงานประจำปี
  • การจัดทำแผนงานประจำปี ของ คพรฟ.
  •     - การจัดทำแผนงานประจำปี
        - การสำรวจความต้องการของประชาชน
        - ประเภทโครงการชุมชนที่สามารถขอเงินสนับสนุนจากกองทุน
  • การจัดทำข้อเสนอโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอโครงการ
  • การพิจารณาโครงการชุมชน
  •     - ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติโครงการชุมชน
        - แนวทางการพิจารณาแผนงาน
        - ประเด็นเพิ่มเติมที่ควรคำนึงถึง
  • ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  •     - การจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
  • การดำเนินโครงการชุมชน
  •     - การจัดทำสัญญารับการสนับสนุน
        - แนวปฏิบัติด้านการเงิน
        - แนวปฏิบัติสำหรับการเบิกจ่ายเงินกองทุน
        - แนวทางการเก็บเอกสารทางการเงิน
        - แนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การรับเงินและทรัพย์สิน
  •     - ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการรับเงินและทรัพย์สิน
    ผลการดำเนินงาน
  • ข้อมูลด้านการเงิน และการบริหารงบฯ
  • พื้นที่ประกาศกองทุน
  •     - หลักการกำหนดพื้นที่ประกาศ
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ก
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ข
        - พื้นที่ประกาศกองทุน ประเภท ค
  • คณะกรรมการกองทุน
  •     - คำสั่งแต่งตั้ง คพรฟ.
        - คำสั่งแต่งตั้ง คพรต.
        - ผู้แทน กองทุน ค
  • กรอบงบประมาณ ที่ กกพ. อนุมัติ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการอนุมัติแผนงานฯ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
        - กองทุน ประเภท ค
  • ผลการพิจารณาแผนงานฯ อื่น ๆ
  •     - กองทุน ประเภท ก
        - กองทุน ประเภท ข
  • ผลการพิจารณางบประมาณเหลื่อมปี
  •     - กองทุนฯ ประเภท ก
        - กองทุนฯ ประเภท ข
    คำถามที่ถามบ่อย
  • พื้นที่กองทุน สรรหา คพรฟ. คพรต.
  • เกี่ยวกับการเงิน
  • เกี่ยวกับบัญชี
  • เกี่ยวกับพัสดุ
  • เกี่ยวกับงบประมาณ
  • เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในกองทุนฯ
  • เกี่ยวกับการเสนอแผนงานประจำปี